คิดสร้างสรรค์แบบภาพยนตร์โฆษณา

คิดสร้างสรรค์แบบภาพยนตร์โฆษณา

คิดสร้างสรรค์แบบภาพยนตร์โฆษณา

การถ่ายทอดบุคลิกภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในการสร้างภาพยนตร์โฆษณานั้น เป็นการนำวิธีการสื่อสารแนวความคิดหลักของโฆษณามาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจ และจดจำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้

กระบวนการสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักครีเอทีฟนั้น จะต้องพยายามหาวิธีการที่จะใช้เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่มีความสำคัญในการทำให้โฆษณาออกมาประสบผลสำเร็จนั้น นักครีเอทีฟโฆษณาจึงจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างโฆษณาออกมาเพื่อนำเสนอแก่ผู้บริโภค

การคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือ Creative thinking นั้นหมายถึงความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดแบบเดิม ๆ เพื่อนำไปสู่ความคิดในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลาย กว้างไกล หลายแง่มุม ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นั้นก็คือ ความคิดที่ได้จะต้องเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน (New original) สามารถใช้การได้ (Workable) และเป็นความคิดที่มีความเหมาะสม (Appropriate) กล่าวคือเป็นการคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิม ๆ ไปสู่สิ่งแปลกใหม่ ๆ ที่ดีกว่า เรียกได้ว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นต้นกำเนิดของ นวัตกรรม (Innovation) เลยทีเดียวค่ะ

ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีความหมายแยกออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก นั่นก็คือ เป็นความคิดในแง่บวก (Positive thinking) เป็นความคิดหรือการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร (Constructive thinking) และเป็นการคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ  (Creative thinking)

สามารถเกิดขึ้นได้ 2 แนวทาง นั่นก็คือ ความคิดที่เริ่มมาจากจินตนาการ แล้วย้อนกลับสู่ความเป็นจริง เกิดจากการนำความฝันและจินตนาการของเราที่เป็นเพียงความคิด แต่มีความปรารถนาอยากให้มันเป็นความจริง และความคิดที่เริ่มมาจากความรู้ที่มี นำมาต่อยอดเพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ

ความคิดในแบบนี้จะทำให้เกิดนวัตกรรม โดยเป็นการนำความรู้หรือข้อมูลที่เรามีมาคิดพัฒนาเพื่อต่อยอด

กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์นั้นแบ่งออกได้ดังนี้

1.เกิดเหตุการณ์ หรือสิ่งใด ๆ ที่ทำให้กระทบความรู้สึกนึกคิด ทำให้ต้องมีการใช้ความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ให้ออกมาตามวัตถุประสงค์

2.ทำการรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทุกประเด็น ทุกแง่ ทุกมุม ที่เกี่ยวข้องและอาจก่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ

3.นำข้อมูลมาแจกแจง เพื่อวิเคราะห์หาความเชื่อมโยง ดูความสัมพันธ์ของข้อมูล

4.ทำการจัดระบบความคิดของข้อมูลที่ได้ทำการแจกแจงและหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไว้แล้ว มาสรุปเป็นความคิดที่ชัดเจนเป็นขั้นตอน

5.ทำการนำเสนอผลที่ได้จากความคิดนั้น ๆ ออกมาเพื่อทดสอบและพิสูจน์ความคิดนั้น ๆ ให้เห็นจริง

ซึ่งกระบวนการในการใช้ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการสร้างโฆษณาจะมี
ขั้นตอนหลัก ๆ อยู่ทั้งหมด 6 ขั้นตอน โดยแต่ละขึ้นตอนจะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ซึ่งได้แก่
    • การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล
    • ทำการวางแผนกลยุทธ์ทางการโฆษณา
    • พิจารณาแผนงานที่ใช้และตัดสินใจด้านกลวิธี
    • ทำการผลิตสิ่งโฆษณาและทำการทดสอบก่อนที่จะนำมาเผยแพร่
    • ดำเนินงานตามแผนโฆษณาที่ได้วางเอาไว้
    • ทำการประเมินผลการโฆษณาที่เผยแพร่ออกไป

กระบวนการที่นักครีเอทีฟโฆษณาทำการสร้างสรรค์โฆษณาออกมานั้น จะมีลักษณะเป็นการสื่อสารภายในตนเอง โดยจะเริ่มจากการทำความเข้าใจในพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน จนทำให้ตนเองรู้สึกเสมือนเป็นกลุ่มเป้าหมายเสียเอง เพื่อเป็นการจำลองภาพผู้ชมในอุดมคติในการมองแบบภาพรวม และแบบเจาะจงเฉพาะบุคคล เพื่อหาวิธีเข้าถึงผู้ชมให้ได้ก่อน

จากนั้นนักครีเอทีฟโฆษณาจะใช้วิธีการที่เรียกว่า ฮุคส์ ในการเข้าถึงเพื่อดึงดูดความสนใจ

โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่ การพลิกผัน และการบังคับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วแบบพลิกผันจะให้ผลที่ดีกว่าแบบบังคับ โดยใช้วิธีนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการให้ความบันเทิง การให้แง่คิด การสร้างอารมณ์ขัน สร้างความประทับใจ เป็นต้น

แนวคิดในการสร้างสรรค์งานโฆษณานั้นมีที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ แนวคิดจากคุณลักษณะของสินค้า (Product characteristic)  แนวคิดจากเจ้าของสินค้า (Advertiser) และแนวคิดจากกลุ่มเป้าหมาย (Target audience)โดยจะอาศัยจากการสังเกต และประสบการณ์ของนักครีเอทีฟในการตีความเพื่อให้ได้ข้อสรุปและแนวคิดในการนำเสนองานโฆษณาที่จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้เป็นอย่างดีนักครีเอทีฟงานโฆษณานั้น จะมีวิธีการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า จะเป็นในแง่ของการแสดงความเข้าอกเข้าใจจนสามารถแทนความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายได้

ซึ่งในปัจจุบันนั้นพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักครีเอทีฟโฆษณาไทยนั้นมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ อยู่ทั้งสิ้นสี่ปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยในข้อแรกคือการมีแนวความคิด มุมมอง และรูปแบบการนำเสนองานโฆษณาที่ค่อนข้างไม่พัฒนา หรือย่ำอยู่กับที่ ทำให้ไม่ค่อยมีผลงานที่ดูน่าตื่นตา หรือน่าสนใจออกมาบ่อยมากนัก

ข้อถัดมาคืองานที่ทำออกมายังมีความโดดเด่นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการคิดนอกกรอบให้มากขึ้น ลองพาตัวเองออกมาจากสิ่งเดิม ๆ ที่เคยเป็น เราอาจจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

ข้อที่สามคือต้องมีการพัฒนาวิสัยทัศน์ให้กว้างไกลหรือพยายามเปิดรับมุมมองและประสบการณ์ใหม่ ๆ มากขึ้นกว่าเดิม

และข้อสุดท้ายคือการคำนึงถึงการสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ออกมามีคุณภาพและต้องตระหนักถึงรูปแบบของโฆษณาว่ามีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย  งานที่ออกมาต้องเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ อยากรู้และอยากใช้สินค้า อันนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในที่สุด

Get A Quote

Add Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *