ขั้นตอนการผลิต Video Production กว่าจะมาเป็นโฆษณาให้เห็นบนป้ายไฟ LED

ขั้นตอนการผลิต Video Production กว่าจะมาเป็นโฆษณาให้เห็นบนป้ายไฟ LED

ขั้นตอนการผลิต Video Production กว่าจะมาเป็นโฆษณาให้เห็นบนป้ายไฟ LED

สื่อโทรทัศน์มักจะได้รับความสนใจจากผู้ชมมากกว่าสื่อชนิดอื่น ๆ เนื่องจากสามารถสื่อสารได้ถึงอารมณ์และภาพลักษณ์ของสินค้าชนิดนั้น ๆ สามารถสื่อสารได้ถึงจุดจับใจ ที่จะทำให้ผู้ที่ได้ชมเกิดความสนใจในตัวสินค้าได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังสามารถแสดงการสาธิตวิธีใช้สินค้าและบริการได้อีกด้วย เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการที่มีผู้ชมมาก

ยกตัวอย่างเช่น ในรายการละครหลังข่าว ที่จะมีผู้เข้าชมมากมายหลายล้านคนทั่วประเทศ แม้ว่าราคาที่ใช้ในการออกอากาศแต่ละครั้งจะสูงมาก แต่เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ชมที่จะได้เห็นโฆษณาแล้วก็ถือว่าคุ้มค่าอีกทั้งสถานีโทรทัศน์ก็ยังผลิตรายการที่มีความแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความแตกต่างของกลุ่มผู้ชมในแต่ละรายการ ตรงจุดนี้จะทำให้นักโฆษณาสามารถวางแผนเพื่อเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้

ความยาวของภาพยนตร์โฆษณาในปัจจุบันพบว่ามีความยาวโดยเฉลี่ยที่สั้นลง เราจะพบโฆษณาที่มีความยาวเพียง 15 วินาทีเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้เกิดขึ้นจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการทำงานที่ดี เพราะสื่อโฆษณาที่มีความสั้นมากเกินไป จะทำให้ใส่รายละเอียดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ลงไปได้น้อย และสร้างความสนใจได้ยากขึ้น

แต่หากมีความยาวมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเบื่อหน่ายและไม่อยากดูต่อ ความยาวของโฆษณาที่ดีนั้นมีผลต่อการสร้างความเข้าใจ ดึงดูดความสนใจและสร้างการจดจำให้แก่ผู้บริโภคซึ่งโดยปกติแล้ว การผลิตรายการโทรทัศน์นั้นจะใช้เวลาเฉลี่ยโดยประมาณ 90 วัน นับตั้งแต่เริ่มแนวคิดจนกระทั่งสิ้นสุดการผลิต แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความยากง่าย รายละเอียดการถ่ายทำ รวมไปถึงระยะเวลาในการศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำบทถ่ายทำของเรื่องด้วย

เมื่อมีความต้องการที่จะผลิตรายการ ผู้ดำเนินการผลิตจะมอบหมายหน้าที่เหล่านี้ให้ Producer ที่จะมีหน้าที่วางแผนการทำงาน จัดประชุม ประสานงานต่าง ๆ ทั้งหมดทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะถ่ายทำ

วันนี้เราจะนำข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการผลิตรายการและสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มาฝากกันค่ะ

ขั้นตอนการผลิตรายการหรือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐานดังนี้

    1. Pre-production consultation คือการรับเรื่องราว สาระสำคัญ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าจากลูกค้านอกจากนี้ก็เป็นในส่วนของความต้องการของลูกค้า วัตถุประสงค์ของการทำรายการ กลุ่มผู้ชมที่เป็นเป้าหมาย รูปแบบของรายการ และความยาวของสื่อที่ต้องการ ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการในระบบ

2. Approach or Outline development ขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดขอบเขตของเรื่อง อาจจะเขียนหรือนำเสนอแบบปากเปล่าต่อหน้าลูกค้า เพื่อนำเสนอแนวความคิด และให้ลูกค้าอนุมัติในแนวคิดที่นำเสนอไป

3.Scripting ในส่วนนี้จะเป็นขั้นตอนของการเขียนบทถ่ายทำแบบสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกค้าอนุมัติบทถ่ายทำนั่นเอง

4.Storyboarding or Blocking เป็นรูปแบบการถ่ายทำที่มีภาพประกอบเนื้อหาที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้ ลูกค้าและ producer ทำความเข้าใจและอนุมัติตาม storyboard นั้น ๆ

5.Shooting or Image acquisition ตรงนี้จะเป็นในส่วนของขั้นตอนการถ่ายทำ หรือการบันทึกภาพตามบทถ่ายทำในสถานที่จริง

6.Editing/Post-production เมื่อทำการถ่ายทำเสร็จแล้ว จะเป็นในขั้นตอนของการดำเนินงานหลังการถ่ายทำ โดยจะมีการดำเนินการใน studio ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ (editing) ซึ่งเป็นการตัดต่อทั้ง picture, sound, narration, graphics, animation และ special effects เข้ามาไว้ด้วยกัน ลูกค้าสามารถเข้าชมในขั้นตอนการตัดต่อนี้ได้ หรืออาจจะเข้าชมเมื่อกระบวนการ post production เสร็จแล้วก็ได้

    1. Audio/Voice narration recording เป็นขั้นตอนบันทึกเสียง จะใช้นักให้เสียงอาชีพมาทำการบันทึกเสียงคำบรรยาย รวมไปถึงการประกอบเสียงประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในรายการนั้น ๆ ด้วย

8.Music/Sound effects/Sweetening ในส่วนนี้จะเป็นขั้นตอนการประกอบเสียงดนตรี อาจจะทำขึ้นมาใหม่หรือใช้ดนตรีประกอบที่มีอยู่แล้วก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของรายการและงบประมาณที่มีอยู่

9.Review/Evaluation and approval เป็นส่วนของขั้นตอนการชมชิ้นงานของลูกค้า หากได้รับความพงพอใจก็จะได้รับการอนุมัติ

10 .Duplication and distribution เมื่องานได้รับการอนุมัติแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนของการทำสำเนาและแจกจ่าย อาจส่งให้สถานีโทรทัศน์หรือแจกจ่ายไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ

จากขั้นตอนทั้ง 10 ขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว เราสามารถแบ่งกระบวนการผลิตรายการหรือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ออกได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ เรียกว่า 3P ได้แก่ Pre-production, Production และ Post-production

Pre-production คือระยะเตรียมการถ่ายทำ เป็นระยะที่สำคัญในการเริ่มต้นทำงาน เพราะเป็นขั้นตอนการวางแผนการทำงานและจัดเตรียมงานก่อนที่จะลงมือถ่ายทำ

Production คือขั้นตอนการผลิตหรือการถ่ายทำ เป็นการนำแผนการผลิตที่ได้วางเอาไว้ในขั้นตอนแรกมาปฏิบัติให้เกิดผลงานออกมาเป็นรูปธรรมตรงตามรูปแบบที่ได้วางแผนออกมาให้ได้มากที่สุด

Post-production คือขั้นตอนการดำเนินงานหลังการผลิต ซึ่งเป็นขั้นตอนของการตัดต่องานให้เรียบร้อยสมบูรณ์ ทั้งในด้านภาพ เสียง เทคนิคพิเศษต่าง ๆ ที่ใส่เพิ่มเติมเข้ามา รวมไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำผลงานไปนำเสนอ

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหม กว่าที่จะสร้างสรรค์รายการหรือโฆษณาออกมาได้สักชิ้นงานหนึ่ง

นี่เป็นเพียงการนำเสนอขั้นตอนการทำงานเพียงคร่าว ๆ ในการทำ Video Production เท่านั้นเอง เพราะในแต่ละขั้นตอน ก็ยังมีรายละเอียดที่แยกย่อยออกไปอีกมากมาย จึงทำให้สามารถออกมาเป็นงานโฆษณาที่เราได้รับชมกันผ่านสื่อโทรทัศน์และทางสื่อต่าง ๆ นั่นเอง

Get A Quote

Add Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *